Tag - ประกวด

กิจกรรมวันลอยกระทง

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ “กระทง” จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

ประวัติ

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1

ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

  • ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม” หรือ “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
    • จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี”ยี่เป็ง”เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
    • จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า “กระทงสาย”
    • จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
  • ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
    • จังหวัดร้อยเอ็ด มีชื่องานประเพณีว่า “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป” ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง การประกวดประทีปโคมไฟและกระทงอันสวยงาม มีการจำลองแห่หัวเมืองสาเกตุนครทั้ง11 หัวเมือง
    • จังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล
    • จังหวัดนครพนม จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า “ไหลเรือไฟ”โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน
  • ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
    • กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
    • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่ครั้งโบราณ สรุปได้ 3 ประการ คือ


1. เชื่อว่าเป็นการบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิธีหนึ่งโดยใช้น้ำที่ไหลไปเป็นพาหนะนำกระทง
ดอกไม้ธูปเทียนไปสักการะพระองค์ท่านโดยจินตนาการประก อบกับเป็นช่วงฤดูน้ำหลากพระจันทร์
เต็มดวงในคืนวันเพ็ญเป็นบรรยากาศที่ทำให้คนในสมัยก่อนซึ่งยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น เกิดความสุขสงบเป็นพิเศษจึงได้จัดพิธีบูชาพระพุทธคุณ ด้วยกระทงดอกไม้ธูปเทียนพร้อมกับงานรื่นเริงอื่น ๆ

2.เชื่อว่าเป็นการลอยความทุกข์โศกของตนที่มีอยู่ให้ออกไปจากตัวกับสายน้ำที่ไหลไปนั้นพร้อม
กับตั้งจิตอธิษฐานขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ตนและครอบครัวได้รับแต่สิ่งที่ดี

3.เชื่อว่าเป็นการขอขมาต่อน้ำโดยเฉพาะแม่น้ำลำคลองซึ่งมีคุณอย่างอเนกอนันต์ต่อคนสมัยก่อน ทั้งเรื่องใช้อาบชะล้างสิ่งต่างๆประจำวันรวมทั้งการเ พาะปลูกการคมนาคมถือว่าเป็นการกระทำล่วง
เกินให้น้ำสกปรกจึงได้ทำพิธีขอขมาอย่างเป็นพิธีการอย่างน้อยปีละครั้ง

กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ และ สัปดาห์ห้องสมุด

ประวัติวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  

รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ และต่อมาได้มีการสร้าง“อุทยานวิทยาศาสตร์” ที่อำเภอบ้านหว้ากอ


วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

          1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” 
2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน การค้นคว้า วิจัย ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
4. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชน ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน

ชนะเลิศการประกวดวาดภาพ ในรายการโอวันติน Gift For Mom ปีที่ 13

ประวัติการแข่งขัน
–  โอวันติน Gift For Mom ปีที่ 12 (ปี 2557) (ส่ง 150 ชิ้น)
–  โอวันติน Gift For Mom ปีที่ 13 (ปี 2008) (ส่ง 180 ชิ้น)

รายละเอียดนักเรียนที่ได้รับรางวัล
–  เด็กชายสุวรรณภูมิ   นิ่มละม่อม  ได้รับรางวัลชมเชย
ในรายการโอวันติน Gift For Mom ปีที่ 12 (ระดับชั้น ป.1-2)
–  เด็กหญิงชมพูนุช   พิทักษ์  ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับภาค
ในรายการโอวันติน Gift For Mom ปีที่ 13 (ระดับชั้น ป.1-2)
–  เด็กหญิงอรไท  จันทร์ทอง  ได้รับรางวัลชมเชย ระดับภาค
ในรายการโอวันติน Gift For Mom ปีที่ 13 (ระดับชั้น ป.1-2)

ครูผู้ฝึกสอน นางสาวนงลักษณ์  จงเทพ ตำแหน่ง ครู คศ. 1 ครูสาระการเรียนรู้ศิลปะ 


การฝึกซ้อมทำกิจกรรมส่งประกวด

ด้วยความตั้งใจและตั้งมั่น คุณครูจะบอกกับเด็กๆ เสมอว่าทุกคนเกิดมาถึงแม้จะมีโอกาสไม่เท่ากัน แต่คุณครูจะหยิบยื่นโอกาสให้ทุกคน  เพื่อจะได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทำเพื่อแม่  อย่างน้อยที่สุดทุกคนที่ส่งภาพเข้าประกวดจะได้กรอบรูปจากโอวันตินไปให้แม่ในวันแม่ที่จะมาถึง  คุณครูแจกกระดาษให้กับทุกคนสร้างสรรค์งานอย่างเต็มที่  ในกิจกรรม Ovaltine Gift For Mom บรรยายเพรื่องราวต่างๆ ความรักของแม่

ขอบคุณโอกาสดีๆ จากโอวัลตินและของใจเด็ก ๆ ที่ตั้งใจจริงส่งผลงาน  จนทำให้หนึ่งในสามแสนห้าหมื่นชิ้นมีผลงานของนักเรียนโรงเรียนเราติดหนึ่งในนั้นและทำให้เราก้าวเข้าไปในรอบชิงชนะเลิศ  แม้ความฝันอาจไม่ได้เป็นที่ 1 ระดับประเทศแต่ที่ 1 ระดับภาคก็เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งแล้วสำหรับครู  และโรงเรียนของเรา  ขอให้เด็ก ๆ ทุกคนอย่าละทิ้งความพยายาม  เหมือนดั่ง ด.ญ. ชมพูนุช  พิทักษ์  เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่ใจรักศิลปะ  สร้างสรรค์งานได้ยิ่งใหญ่จนชนะใจกรรมการจนมีหลาย ๆ คนถามถึงว่าเรามาจากโรงเรียนอะไร? ทุกครั้งที่บอกกล่าวชื่อโรงเรียนนั่นคือความภาคภูมิใจ  ขอบคุณโอกาสดี ๆ ที่ส่งต่อมาถึงเราและส่งต่อไปให้เด็กๆ ทุกคน  และคุณครูหวังว่าเราจะมีโอกาสได้เข้าไปชิงชนะเลิศในปีต่อๆ ไป เช่นกัน

“ความพยายามอยู่ที่ไหน  ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

คุณครูได้กล่าวไว้